คณะทำงานสร้างภูมิคุ้มกัน และการมีส่วนร่วม

นำข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดชนิดใหม่ที่มีอันตรายสูง “เคนมผง”

มาประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชนและกำลังพล ทอ.

 

 

                       คณะทำงานสร้างภูมิคุ้มกัน และการมีส่วนร่วม ขอนำข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดชนิดใหม่ที่มีอันตรายสูง
มาประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชนและกำลังพล ทอ.

 

"เคนมผง"

 

 

ส่วนประกอบยาเคนมผง


                       เคนมผงมีส่วนผสมหลักอยู่ ๔ ชนิด เรียกว่า สูตรค็อกเทล ประกอบด้วย ไอซ์ เป็นอนุพันธ์ของยาบ้า ที่ทำให้เกิดความขยัน, เฮโรอื่น
 ทำให้เกิดอาการหลอน ควบคุมตัวเองไม่ได้, เคตามีน อนุพันธ์มอร์ฟีน ทำให้เคลิ้ม เบลอ สูญเสียความทรงจำ สุดท้ายคือโรเซ่ (โคลนาซีแพม)
 คือ กลุ่มยานอนหลับและทำให้สลบ และทำให้หัวใจหยุดเต้น สารประกอบทั้ง ๔ ตัว มีสีขาวเหมือนแป้ง เมื่อนำมาผสมกันก็จะแยกกันไม่ออก
 
เคนมผง เปลี่ยนแปลงสูตรได้ตลอดเวลา ขึ้นกับแต่ละกลุ่มผู้เสพ ราคา ๕๐๐ บาท ต่อกรัม นำไปตรวจพบความบริสุทธิ์ของไดอะซีแพม ๙๐%
 
ซึ่งปกติไดอะซีแพม ๑ เม็ด จะมีปริมาณ ๕ มิลลิกรัม แต่ยาที่ตรวจพบเทียบได้เท่าการกินยาถึง ๕๐ – ๑๐๐ เม็ด

 

อาการเมื่อเสพยาเคนมผง


                   เมื่อเสพเคนมผงเข้าไปแล้ว จะทำให้สลบ ระบบการหายใจผิดปกติ หลอดลมจะหดตัว หัวใจทำงานผิดปกติ สมองไม่สามารถสั่งการได้
 ตามปกติ เป็นยาเสพติดที่ออกฤทธิ์หลอนประสาทอย่างรุนแรง ทำให้เกิดอาการมึนเมา เพลิดเพลิน มีความสุข เกิดภาพเหมือนฝัน มีอากาศหมดสติ
 เฉียบพลัน หายใจช้าลง หรือ หยุดการหายใจ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสียชีวิตได้

 

อันตรายของเคนมผง


                    การเสพยาเคนมผง ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะเพิ่มความเสี่ยงทำให้ผู้เสียชีวิต และสามารถเกิดขึ้นได้แม้จะเสพเป็นครั้งแรก
 ซึ่งในขณะนี้พบผู้เสียชีวิตที่อาจเกิดจากการเสพยาเคนมผงจำนวนหลายราย ในบางรายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ยังไม่สามารถรักษา
 ให้หายขาดได้


                    กรณีมีกลุ่มผู้เสพยาเสพติดเคนมผง แล้วเสียชีวิตนับสิบคนทั้งในเขต กทม.และปริมณฑล โดยเฉพาะพื้นที่ สน.วัดพระยาไกร
มีผู้เสียชีวิตมากถึง ๖ คน ล่าสุด ผบช.น. แถลงสรุป พบผู้เสพยาเคชนิดนี้เสียชีวิตแล้ว ๙ ศพ เข้าโรงพยาบาล ๒๓ คน ยังอยู่ในไอซียู อีก ๓ คน
ตามจับคนจำหน่ายได้ ๙ รายจาก ๖ คดี


                   นอกจากนี้ ยังมีรายงานผลข้างเคียงจากการเสพยาเคในฮ่องกง ไต้หวัน และจีน โดยทำให้มีความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ
 ส่งผลให้ผู้ที่เสพ  มีปัญหาเรื่องกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กระเพาะปัสสาวะอักเสพเรื้อรัง โดยพบเด็กวัยรุ่นฮ่องกงจำนวนมากที่อายุเพียง ๒๐ ปี
 ที่มีประวัติการใช้ยานี้ต้องใส่ผ้าอ้อมไปตลอดชีวิต เนื่องจากกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ถ้าจะรักษาจำเป็นจะต้องผ่าตัดใหญ่เพื่อซ่อมแซมทางเดินปัสสาวะ
 โดยเอาลำไส้ใหญ่มาซ่อม

 

 

 

 

ที่มา : กรมการแพทย์โดยสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.), 
รศ.นพ.สัมมน  โฉมฉาย อาจารย์ประจำสาขาวิชาพิษวิทยา อาชีวเวชศาสตร์ และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

คณะทำงานสร้างภูมิคุ้มกัน และการมีส่วนร่วม